วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

ความรู้เรื่องบุหรี่ไฟฟ้า อ่านซะ เดี๋ยวจะคุยกับเขาไม่รู้เรื่องงงงง


บุหรี่ไฟฟ้า



      หากคุณต้องการจะซื้อบุหรี่ไฟฟ้าสักอันแบบพร้อมสูบ คุณจะต้องมี 1.กล่องจ่ายไฟ 2.ถ่านหรือแบตเตอรี่ 3.อะตอม 4.คอยล์และสำลี 5.น้ำยา (6.รางชาร์จถ่าน มีหรือไม่แล้วแต่ประเภทกล่องจ่ายไฟที่คุณเลือก)

1. กล่องจ่ายไฟ
     กล่องจ่ายไฟหรือม็อดและบ็อคม็อด ซึ่งจริงๆ แล้วอะไรก็ตามที่จ่ายไฟฟ้าได้จะเรียกเป็นม็อดทั้งหมด ถ้าเป็นในรูปแบบกล่องก็จะเรียกบ็อคม็อด กล่องจ่ายไฟมีหน้าที่นำไฟฟ้าจากถ่านหรือแบตเตอรี่ส่งไปให้อะตอม แบ่งได้ 3 ประเภท หลักๆ คือ

1.1 กล่องปรับวัตต์
 คือ กล่องจ่ายไฟชนิดปรับวัตต์ จะมีชิพเซตความคุมกระแสไฟที่จ่ายออกมาและมีหน้าจอเพื่อแสดงผล สามารถปรับความแรงของกระแสไฟได้ตามที่ต้องการ เช่น การปรับวัตต์หรือโวลต์ ส่วนมากหน้าจอจะแสดงข้อมูลอัตรากระแสไฟที่จ่ายออกมาเป็นค่าวัตต์จากกล่องนั้นและข้อมูลอื่นๆ เช่น ค่าโอม ค่าโวลต์ อุณหภูมิ เปอร์เซนแบตเตอรี่ และอื่นๆ โดยกล่องประเภทนี้จะมีลูกเล่นต่างๆ ในการใช้งานเช่นการใช้ mode temp control คือ การความคุมอุณหภูมิของลวด เป็นต้น และยังสามารถชาร์จแบตเตอรี่ในตัวเองได้ด้วยสาย USB ในเฉพาะบางรุ่น แต่ส่วนมากหากกล่องประเภทนี้ใช้ถ่าน 18650 ควรที่จะชาร์จกับรางชาร์จถ่าน เพราะหากชาร์จกับกล่องโดยตรง ชิพเซตที่รับไฟเข้ามาจะทำงานหนักในการรับกระแสไฟเป็นเวลานานจึงทำให้ชิพเซตร้อนและอาจเสียได้ในที่สุด ส่วนแบตเตอรี่ประเภท Lipo นั้น สามารถชาร์จได้โดยตรง เพราะความสามารถของแบตเตอรี่สามารถชาร์จเต็มได้ในระยะเวลารวดเร็วกว่าและค่ามิลลิแอมของแบตประเภทนี้ยังน้อยกว่าจึงชาร์จได้เร็วกว่า ทำให้ชิพเซตรับกระแสไฟในระยะเวลาอันสั้นและทำงานน้อยกว่า

1.1.1 ชิพเซต
      ชิพเซตที่มีชื่อเสียงในวงการบุหรี่ไฟฟ้าก็คือ ชิพ DNA และชิพ SX ส่วนชิพเซตยี่ห้ออื่นๆ นั้นก็จะมีหลากหลายแบบให้เลือกตามที่ผู้ซื้อต้องการ ความแตกต่างของชิพเซตแต่ละยี้ห้อนั้น อยู่ที่ความชอบของผู้ใช้ เพราะในแต่ละยี่ห้อก็จะมีจุดเด่นด้านการจ่ายไฟเป็นของตัวเอง

1.1.2 แบตเตอรี่
แบตเตอรี่ที่ใช้ในบุหรี่ไฟฟ้าประเภทนี้จะมีอยู่สองชนิดคือ ถ่านขนาด 18650 และ แบต LiPo หรือ Lithium Polymer ซึ่งแบตประเภท LiPo จะมีความสามารถจ่ายไฟได้แรงกว่าแต่อาจมีข้อจำกัดที่มากกว่าเช่น การที่ห้ามใช้แบตจนหมดเพราะจะทำให้เซลแบตตาย เป็นต้น

-      ตัวอย่างกล่องปรับวัตต์ ประเภท 200 วัตต์ ขึ้นไป เช่น IPV6X , IPV5 , Rx200 , Rx200s , Rx2/3 , Limitless200w , SnowWolf200 , WISMEC DNA200 , VT200 , VTbox200 ,BoxerDNA200 , SXmini Q Class เป็นต้น

-      ตัวอย่างกล่องปรับวัตต์ ประเภท 100 วัตต์ขึ้นไป เช่น Dripbox160 , Minikin 120w , Cubiod 150w , VT133 , Box133 เป็นต้น

-      ตัวอย่างกล่องปรับวัตต์ ประเภทต่ำกว่า 100 วัตต์ เช่น eVic Mini 75w , Topbox Mini 75w , SnowWolf75w , dx75 , VT75 เป็นต้น

1.2 กล่องปรับโวลต์หรือกล่องกึ่งยิงสด
คือ กล่องจ่ายไฟชนิดปรับโวลต์ จะมีชิพเซตความคุมกระแสไฟที่จ่ายออกมาเช่นกัน แต่จะไม่มีหน้าจอแสดงค่ากระแสไฟ หรือหากมีจะแสดงค่าโวลต์ออกมา จะไม่แสดงค่าโอมและค่าอื่นๆ ส่วนมากจะใช้ถ่านขนาด 18650 จำนวนสองก้อน และไม่สามารถชาร์จในตัวเองได้ ต้องใช่รางชาร์จถ่านเพื่อชาร์จถ่าน

-      ตัวอย่างกล่องปรับโวลต์หรือกล่องกึ่งยิงสด เช่น TESLA III , HEXOHM เป็นต้น

1.3 กล่องยิงสดและแท่งยิงสด (ไม่แนะนำสำหรับมือใหม่)
กล่องประเภทนี้จะมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า แม็คม็อด หรือ แม็คคานิคม็อด คือ กล่องที่จะนำความแรงของกระแสไฟออกมาจากถ่านแล้วจ่ายเต็มจำนวน ไม่สามารถปรับความแรงของกระแสไฟได้ไม่มีชิพเซตควบคุมกระแสไฟที่จ่ายออกมา กล่องประเภทนี้จะแบ่งการต่อวงจรได้สองแบบคือ ซีรี่(อนุกรม) และ พาราเรล(ขนาน) และไม่สามารถชาร์จแบตเตอรี่ในตัวได้จะต้องมีรางชาร์จเพื่อชาร์จถ่าน

1.3.1 กล่องยิงสดประเภทซีรี่
            กล่องประเภทนี้จะใช้ถ่านสองก้อนขึ้นไปต่อกันแบบอนุกรม ความแรงของกระแสไฟนั่นคือค่าโวลต์จะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวของปริมาณการจ่ายไฟของถ่าน แต่ค่าโอมที่ถ่านรับได้จะไม่เพิ่มขึ้น หมายความว่ากล่องประเภทนี้จะต้องพันลวดให้รอบสูงขึ้นและจะไม่สามารถรับค่าโอมต่ำได้

- ตัวอย่างกล่องยิงสดประเภทซีรี่ เช่น noisy , underground เป็นต้น

1.3.2 กล่องยิงสดประเภทพาราเรล
กล่องประเภทนี้จะใช้ถ่านสองก้อนขึ้นไปต่อกันแบบขนาน ความสามารถในการรับค่าโอมต่ำจะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว และมิลลิแอมของถ่านก็จะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว แต่ค่าโวลต์จะไม่เพิ่มขึ้น กล่องประเภทนี้จะสามารถรับโอมต่ำได้ตามความสามารถของถ่านและสามารถใส่ถ่านก้อนเดียวแล้วนำมาใช้งานได้

- ตัวอย่างกล่องยิงสดประเภทพาราเรล เช่น tahiti box mod , aventador box mod เป็นต้น

1.3.3 แท่งยิงสด
ส่วนมากจะเรียกว่า ม็อดยิงสด คือ แท่งที่ใส่ถ่าน 18650 จำนวน 1 ก้อน ส่วนมากปุ่มกดจะอยู่ที่ตูด การจ่ายไฟจะคล้ายกล่องพาราเรลและจะมีขั้วสำหรับต่ออะตอมอยู่ 2 ประเภท คือ ขั้ว510 และขั้วไฮบริต

- ตัวอย่างแท่งยิงสด เช่น fujin mod , SMPL mod , dotmod mod เป็นต้น

            1.3.4 ขั้ว 510 และขั้ว ไฮบริต
ขั้วคืออะไร ขั้วนั้นคือส่วนที่จะทำให้กล่องจ่ายไฟเชื่อมต่อกับอะตอมทำให้กระแสไฟฟ้าครบวงจรและจะทำให้คอยล์หรือลวดที่พันนั้นเกิดความร้อนขึ้น โดยที่ขั้วด้านหนึ่งจะเชื่อมต่อกับอะตอมและอีกด้านหนึ่งจะเชื่อมต่อกันถ่านหรือแบตเตอรี่

                        1.3.4.1 ขั้ว 510 คือ ขั่วที่จะมีโลหะยื่นออกมาด้านล่างเมื่อเรานำอะตอมไปใส่ในขั้วเพื่อที่จะเป็นตัวเชื่อมกระแสไฟระหว่างอะตอมกันถ่านจะแบ่งได้สองแบบคือ ขั้วที่เป็นสปริงและขั้วที่เป็นเกรียว

                        1.3.4.2 ขั้ว ไฮบริต คือ ขั่วที่จะไม่มีโลหะมาเป็นตัวเชื่อม แต่จะใช้ฐานอะตอมเชื่อมต่อโดยตรงกันถ่าน โดยไม่ผ่านโลหะใดๆ (ข้อควรระวัง ต้องตรวจสอบฐานอะตอมให้ฐานอะตอมยื่นออกมาชัดเจน มิฉนั้นอาจทำให้เกิดการช็อตได้)

2 อะตอม
    อะตอมคือตัวรับกระแสไฟขั้วบวกและขั้วลบเพื่อนำกระแสไฟไปจ่ายที่ขดลวดโดยจะยึดเข้ากับขั้วที่มีอยู่ในกล่องจ่ายไฟประเภทต่างๆ ทำให้ขดลวดเกิดความร้อนขึ้น ส่วนประกอบในอะตอมจะมี 1.รูสำหรับยึดลวดอาจเป็นเสาหรือไม่ใช่ก็ได้ 2.ฝาสำหรับครอบอะตอมส่วนนี้จะมีรูลมเพื่อให้อากาศเข้าไปด้านใน ในส่วนนี้หลักๆจะมีรูลมสามแบบคือ รูลมบน รูลมกลาง และรูลมล่าง ซึ่งอะตอมบางตัวอาจมีได้หลายรูลมในอะตอมตัวเดียวและสามารถปรับขนาดของรูลมในแต่ละช่องได้แล้วแต่ว่าอะตอมตัวนั้นออกแบบมาอย่างไร 3.ดริปปากสูบ ในส่วนนี้จะมีปากสูบหลายขนาดให้เลือกใช้ผู้ใช้สามารถเลือกปากสูบได้ตามความต้องการและอะตอมจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

2.1 อะตอมแทงค์ RTA
      คือ อะตอมประเภทนี้จะมีแทงค์เก็บกักน้ำยาไว้ในตัวอะตอมโดยสามารถเติมน้ำยาได้ครั้งละมากๆ อะตอมประเภทนี้จะมีคอยล์อยู่สองประเภทคือ คอยล์โรงงาน และ คอยล์โมดิฟาย

2.2 อะตอมกึ่งแทงค์ RDTA
      คือ อะตอมประเภทนี้จะมีแทงค์เก็บกักน้ำยาไว้ในตัวอะตอมโดยสามารถเติมน้ำยาเก็บไว้ในแทงค์ได้เหมือนอะตอมแทงค์ แต่หลักการทำงานจะคล้างกับอะตอมหยดสูบ

2.3 อะตอมหยดสูบ RDA
      คือ อะตอมที่ไม่มีที่เก็บกักน้ำยาไว้ในตัวอะตอมหากต้องการสูบจะต้องหยดน้ำยาลงไปในสำลีโดยตรงและต้องหมั่นดูว่าน้ำยาแห้งจากสำลีหรือยัง หากน้ำยาแห้งจะทำให้สำลีเกิดการไหม้

3 ลวดและคอยล์

3.1 ลวด
คือตัวนำกระแสไฟขั้วบวกและขั้วลบมาเจอกันทำให้เกิดความร้อนหากนำมาพันเป็นจำนวนรอบต่างๆ จะเรียกว่าคอยล์ ลวดแต่ละประเภทจะมีขนาดของลวดต่างกันไปเช่น ขนาด 0.4 , 0.5 , 0.6 ตามความต้องการของผู้ใช้

- ประเภทลวดที่ใช้ในบุหรี่ไฟฟ้าที่นิยมใช้คือ Kantal A1 , Ni80 , Ni200 , Titanium , Stainless เป็นต้น

- ประเภทของรูปแบบการพันลวดเช่น แบบทวิส , แบบพาราเรล เป็นต้น

3.2 คอยล์
คือลวดที่พันตามจำนวนรอบที่ต้องการแล้วสามารถพร้อมนำไปติดตั้งในอะตอม คอยล์จะมีสองแบบคือ คอยล์โรงงานและคอยล์โมหรือคอยล์โมดิฟายนั่นเอง

3.2.1 คอยล์โรงงาน คือ คอยที่ทำออกมาจากโรงงาน มีสำลีมาให้พร้อมผู้ใช้แค่เพียงหยดน้ำยาลงในคอยล์ให้ชุ่มก็สามารถพร้อมใส่ในอะตอมได้เลย ส่วนมากคอยล์โรงงานจะใส่คู่กับอะตอมแทงค์ของโรงงาน

3.2.2 คอยล์โม คือ การนำประเภทลวดที่ต้องการและขนาดที่ต้องการนำมาพันในรอบแกนที่ต้องการและจำนวนรอบที่ต้องการก็จะได้คอยล์ขึ้นมา 1 อัน จะมีค่าโอมหรือความต้านทานที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ ประเภทลวด ขนาดของลวด ความใหญ่ของแกนและจำนวนรอบ

4 น้ำยา หรือ E-liquid
น้ำยาในตลาดเมืองไทยตอนนี้จะมีผู้ผลิดอยู่ 3 ประเทศด้วยกันคือ อเมริกา มาเลเซีย และไทย ซึ่งน้ำยานั้นจะมีความเข้มข้นของนิคโคตินหลายระดับและมีกลิ่นต่างๆให้เลือกสรรค์มากมาย โดยแบ่งออกเป็น 3 สายหลักๆ คือ สายผลไม้ สายเครื่องดื่ม และ สายขนม ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ต้องการโดยส่วนมากจะมีระดับความเข้มข้นลองนิคโคตินอยู่ที่ 0 3 6 และ 12 เป็นต้น